กริยา 3 ช่อง ภาษาอังกฤษ + ไฟล์ pdf ไฟล์ doc
กริยา 3 ช่อง หรือ กริยาสามช่อง ภาษาอังกฤษ เป็นการผันออกเป็น 3 ช่อง ตาม Tense (กาล) เราได้รวบรวมพร้อมคำแปล และแสดงเป็นตารางให้แล้ว
กริยา 3 ช่อง ท่องเลย!
มีคำถามมาหลายครั้งจากหลายๆ คนว่า "มีเทคนิคจดจำกริยา 3 ช่องกันยังไงบ้าง ขอแบบที่ได้ผลระยะยาวและแม่นยำ" เลยจะมาแบ่งปันเทคนิคให้จดจำไปใช้งานได้ตามนี้เลย ตั้งใจนะ! วิธีที่ได้ผลในระยะยาวคือเอาไปใช้ / ระลึกถึงอยู่บ่อย ซึ่งหลักการก็ง่ายๆ ให้จำคำกริยาที่เปลี่ยนรูปให้ได้ นอกเหนือจากนั้นก็เป็นคำกริยาที่เติม -ed หมดเท่านั้นเอง
กริยา 3 ช่อง ภาษาอังกฤษ เรียกว่าอะไร
มีคำถามเหมือนกับหลาย ๆ คน ที่อยากจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วที่เราเรียกกันว่ากริยา 3 ช่องนั้น ในภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าอะไร มา! เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่ากริยา 3 ช่องนั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรกันแน่
กริยา 3 ช่อง 300 คำที่ใช้บ่อย พร้อมคำแปล - หมวด Irregular Verbs
Irregular Verbs คือ กิริยา 3 ช่อง ที่มีรูปของทั้ง 3 ช่องกริยาแตกต่างกันหรือเหมือนกันไม่ใช่แค่เติม -ed เข้าไป โดยสามารถเป็นได้ทั้งเหมือนกันทั้ง 3 ช่อง หรือแตกต่างกันทั้ง 3 ช่องหรือช่องที่ 2 และช่องที่ 3 ที่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำศัพท์กริยานั้น ๆ เลย แล้วทำไงเราถึงจะรู้ล่ะ ตอบได้ง่าย ๆ ครับคือจำ ท่องจำและนำไปใช้จนชินเดี๋ยวจะระลึกได้เอง
กริยา 3 ช่อง ที่ใช้บ่อยเรียงตามลำดับ Top 10 คำ และ Top 50 คำ
กริยา 3 ช่องมี 2 แบบอย่างที่เรารู้กัน ถ้าใครกำลังหาคำที่ใช้บ่อยเรียงตามลำดับ Top 10 คำ, Top 50 คำ ไปดูกันได้ ตามประเภทของคำกริยา 3 ช่อง ดังนี้เลย
กริยา 3 ช่อง 500 คำที่ใช้บ่อย พร้อมคำแปล - หมวด Regular Verbs
Regular Verbs คือ กิริยา 3 ช่อง ที่มีการเปลี่ยนรูปของคำศัพท์ โดยการเติม -ed เข้าไปข้างหลังคำศัพท์ช่องที่ 1 แล้วได้เป็นคำศัพท์ช่องที่ 2 และ 3 ทันที แล้วมีหลักเกณฑ์อะไรบ้างหล่ะ แล้วมีคำไหนบ้าง ไปดูกันเลย กริยาสามช่องก็ว่า
กริยา 3 ช่อง ฉบับเต็ม! ครบทุกหมวดตัวอักษร A-Z
ถ้าพูดถึงคำกริยา 3 ช่องภาษาอังกฤษ เราก็จะนึกไปถึง คำศัพท์ที่เปลี่ยนรูปเป็น 3 แบบ โดยที่มีความหมายเดียวกัน และใช้ต่าง tense กัน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ในภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Irregular Verb แปลว่า กริยาผันไม่ปกติ หรือเปลี่ยนรูปไม่ตรงไปตรงมา ไม่เป็นไปตามกฏการเติม ed นั่นแหละ
คำกริยา
คือคำที่แสดงการกระทำหรือบอกสภาพของประธานของประโยค
ความสอดคล้องระหว่างประธานและกริยา
ความสอดคล้องระหว่างประธานและกริยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Subject – Verb Agreements มีความสอดคล้องของโครงสร้างให้จำดังนี้
กริยาช่วย
Modal Verbs คือ กริยาช่วย ที่มีความพิเศษตรงนี้มีความหมายในตัวมันเอง (ปกติกริยาช่วยมีหน้าที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์แต่ไม่มีความหมาย)
ประธานเป็นผู้กระทำกริยาและเป็นผู้ถูกกระทำ
หลาย ๆ ครั้งเราก็สงสัยว่าประโยคหนึ่งๆ อะไรเป็นประธาน อะไรเป็นกรรม ซึ่งโดยปกติแล้วในประโยคก็จะมีการเรียง ประธาน + กริยา + กรรม คือ ประธานกระทำต่อกรรม กลับกันรูปแบบประโยคอีกแบบหนึ่งคือ ประธานของประโยคถูกกระทำ กรรมใดที่มีคือประธานของประโยคนั่นเอง แล้วอะไรคือข้อแตกต่าง หรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
กริยา ต้องรู้ 100 คำ
ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์มากมาย รวมถึงคำกริยาด้วย ถ้าให้ท่องหรือให้รู้ทั้งหมดคงต้องใช้เวลามากเลยทีเดียว แต่อย่างที่เรารู้แหละ ยิ่งรู้คำศัพท์เยอะ เรายิ่งจะเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นตาม เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นด้วยเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษจากกริยาที่จำเป็นต้องรู้ 100 คำนี้ก่อนเลย โดยคำศัพท์ถูกรวบรวมมาจากสถิติการค้นหาของเพื่อน ๆ ใน รอบ 1 ปีมานี้ นั่นหมายความว่า เป็นกลุ่มคำศัพท์ที่มีการนำไปใช้งานกันบ่อยนั่นเอง แสดงถึงการที่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะไม่ให้รู้ได้อย่างไร ต้องรู้ต้องใช้ให้เป็นแล้วหล่ะ ไปเลยอย่ารีรอ
คำกริยาวิเศษณ์
Adverb คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยาและไม่ได้ขยายกริยา (Verb) เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถขยายคำคุณศัพท์ (Adjective) และขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเองได้อีกด้วย
Tense - กาล (เวลา)
Tense คือ รูปแบบของประโยคที่มีคำกริยา แสดงระบุเวลากำกับการกระทำในขณะที่พูดหรือเรียกสั้นๆในการเรียนหลักภาษาว่า Tense คือ กาล (เวลา)
การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบ คือ การใช้ Adjective และ Adverb มาเป็นตัวบ่งบอกถึงความแตกต่างของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ โดยจะแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเท่ากัน ขั้นกว่า ขั้นสูงสุด
Quantifiers คำบอกปริมาณ
การบอกจำนวนหรือปริมาณของสิ่งของ คน สัตว์ หรือคำนามใดๆ ก็ตาม ถ้าเรารู้จำนวนแน่นอน 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เราก็บกอด้วยตัวเลขตามด้วยหน่วยได้เลย เช่น ผุ้หญิง 5 คน, น้ำมัน 3 ลิตร, ห้อง 10 ห้อง เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่รู้จำนวนที่แน่นอน นับลำบาก หรือจะบอกปริมาณของคำนามนับไม่ได้ทั้งหลาย ในภาษาไทยเรานั้นมักจะใช้คำจำพวกนี้เข้ามาช่วยในการบอกปริมาณที่ไม่พอดี เช่น มีน้ำอยู่บ้าง, คนจำนวนมาก, เหลืออยู่นิดหน่อย
การใช้ Apostrophe 's / s'
หลายคนอาจเข้าใจว่าเครื่องหมายอะพอสทรอฟีเอส Apostrophe 's นั้นเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของสำหรับคำนามเพียงอย่างเดียว แต่ในความจริงแล้วเครื่องหมายนี้เดี่ยว ๆ เองก็สามารถนำมาใช้เพื่อผสมคำสรรพนามเข้ากับคำกริยาได้ด้วย
Clauses ประโยคย่อย หรือ อนุประโยค
ประโยคย่อย หรือ อนุประโยค (clauses) คือประโยคที่เป็นส่วนหนึ่งของ compound หรือ complex sentences หรืออนุประโยค ที่เป็นกลุ่มคำซึ่งมีประธานและกริยาในประโยค แต่มีใจความไม่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงไม่สามารถใช้โดยลำพังได้ ต้องอาศัยใจความจากประโยคหลักเข้ามาช่วย หรืออีกนัยหนึ่ง clause ก็คือประโยคที่ซ่อนอยู่ในประโยคนั่นเอง clause อาจใช้เสมือนเป็น noun, adjective หรือ adverb ก็ได้
Phrases วลี
Phrase คือ กลุ่มคำที่เกี่ยวพันธ์กัน มีความหมายชัดเจนในตัวเอง สามารถใช้แทนชนิด คำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ แต่ความหมายนั้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีประธาน หรือกริยาแท้เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยอยู่ในประโยค เนื้อความนั้นจึงจะสมบูรณ์